ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ใบ
ดอก
ผล
เมล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla grffith
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ : Marina plum,plum mango
มะปราง
มะปราง ภาษาอังกฤษ Marian Plum, Plum Mango มะปราง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouea macrophylla Griffith จัดอยู่ในวงศ์ Anacardiaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ มะกอก มะม่วง ฯลฯ และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น บักปราง (ภาคอีสาน), มะผาง (ภาคเหนือ), ปราง (ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย
ต้นมะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปราง จะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ
8-15 เซนติเมตร
ผลมะปราง มีลักษณะคล้ายรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม โดยมะปราง 1 ช่อ จะมีผลอยู่ประมาณ 1-15 ผล ผลดิบของมะปรางจะมีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองถึงเหลืองอมส้มและลักษณะของเปลือกจะนิ่ม เนื้อด้านในสีเหลืองแดงส้มออกแดงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มะปรางมีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด ในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดลักษณะคล้ายกับเมล็ดมะมะม่วง
ในพืชตระกูลมะปราง ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, มะยงชิด, มะยงห่าง, กาวาง
- มะปรางหวาน ผลดิบและผลสุกจะมีรสชาติหวานสนิท ผลมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ความหานก็จะแตกต่างกันออกไป จะหวานมากหรือน้อยเท่านั้น แต่เมื่อรับประทานแล้วอาจไอไอระคายคอหรือคันคอได้ถ้าหวานสนิท
- มะปรางเปรี้ยว จะมีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก ขนาดก็ทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มะปรางเปรี้ยว จะเหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปมากกว่าที่จะรับประทานสดๆ เช่น มะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม น้ำมะปราง ฯลฯ
- มะยงชิด เป็นมะปรางที่มีรสหวานอมเปรี้ยว หรือมีรสหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน ขนาดก็มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มะยงชิดจะมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนผลสุกจึงจะออกหวาน ลักษณะของเนื้อค่อนข้างแข็ง มีเปลือกหนา (แต่ถ้ารสเปรี้ยวมากกว่าหวาน เราจะเรียกว่า “มะยงห่าง”)
- มะยงห่าง ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับมะยงชิดมาก แต่ที่ต่างกันก็คือรสชาติ โดยมะยงห่างจะมีรสเปรี้ยวมากและมีรสหวานอยู่บ้างเล็กน้อย แต่มะยงห่างจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมปลูกเพื่อการค้าสักเท่าไหร่
- กาวาง ลักษณะภายนอกจะคล้ายมะยงชิดและมะยงห่าง แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือจะมีรสเปรี้ยวใกล้เคียงกับมะดัน โดยที่มาของชื่อกาวางนั้นมีเรื่องเล่าว่า มีนกกาที่หิวโซ บินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้มีสีเหลืองสวยงาม แต่เมื่อลองจิกกินเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องรีบวางแล้วบินหนีไปทันที จึงเป็นที่มาของชื่อ “กาวาง
- มะปรางโดยรวมแล้วขนาดของผลจะเล็กกว่ามะยงชิด
- มะปรางบางสายพันธุ์รับประทานแล้วอาจคันหรือระคายคอ แต่มะยงชิดเมื่อรับประทานแล้วจะไม่มีอาการดังกล่าว
- มะปรางผลดิบจะมีสีเขียวออกซีด แต่มะยงชิดผลดิบจะมีสีเขียวจัดกว่ามะปราง
- มะปรางผลสุกมีสีเหลืองอ่อน แต่มะยงชิดจะมีสีเหลืองแกมส้ม
- มะปรางผลดิบมีรสมัน แต่มะยงชิดผลดิบรสจะเปรี้ยวจัด
- มะปรางผลสุกมีรสหวานมาก แต่มะยงชิดผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
ประโยชน์ของมะปราง - มะปรางเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง
- ประโยชน์มะปรางช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
- มะปรางมีวิตามินสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
- มะปรางมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสจึงช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
- มะปราง สรรพคุณช่วยฟอกโลหิต
- สรรพคุณของมะปราง ช่วยแก้เสลดทางวัว
- สรรพคุณมะปราง ช่วยแก้น้ำลายเหนียว
- รากมะปราง ช่วยแก้อาการไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
- ใบมะปราง ใช้ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะ
- น้ำจากต้นใช้เป็นยาอมกลั้วคอ
- ผลสุกมะปราง ใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ส่วนผลดิบใช้จิ้มน้ำปลาวาน กะปิหวาน หรือนำไปใช้ดองและแช่อิ่ม
- มะปราง เป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนธาตุดิน หรือผู้ที่เกิดในราศีพฤษภ ราศีกันย์ ราศีมังกร และผู้เกิดตามธาตุนี้ มักจะเสี่ยงกับโรคความอ้วน ความดัน เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ ซึ่งมะปรางถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ
www.flash-mini.com